Saturday, July 13, 2013

วิธีติดตั้ง LXAdmin (Kloxo admin) บน CentOS

1. ตามปกติแล้วตัว Centos นั้นจะต้องไม่มีการ Block port 7777 หรือ 7778 ไม่เช่นนั้นจะทำให้เข้า LXAdmin Panel ไม่ได้ ก่อนอื่นให้เปิด Terminal (Putty) ขึ้นมา หรือ Access ผ่าน SSH คุณเข้าถึงเครื่องได้แบบไหนก็แบบนั้นแหละ โดยใช้สิทธิ root แล้วใช้คำสั่ง
# setenforce 0
แล้ว Enter ไปหนึ่งที ถ้า selinux enable อยู่มันจะขึ้นว่า selinux=disabled ถ้าไม่ขึ้นก็ช่างมัน แล้วก็เริ่มอัพเดทตัว linux server กันหน่อย
# yum update -y
2. คราวนี้ก็เริ่มทำการติดตั้งได้เลย
# wget http://download.lxcenter.org/download/kloxo/production/kloxo-installer.sh
# chmod 755 kloxo-installer.sh
# sh ./kloxo-installer.sh master
กด Enter เสร็จแล้ว ไม่ยากเลย คอยอย่างเดียว มันจะขึ้นให้เราเลือกยอมรับพวก GNU ลิขสิทธิ์นิดหน่อย ก็ยอมรับมันไปเหอะ ไม่ต้องคิดมาก
3. เซตตัว my.cnf กันเลย เพื่อความไหลลื่นของ mySQL (เลือกอันใดอันหนึ่งก็พอ)
ถ้าเรามีแรมอยู่ 512 MB ก็จะใช้ไฟล์ my-medium.cnf
# cp /usr/share/mysql/my-large.cnf /etc/my.cnf
# service mysqld restart
ถ้าเรามีแรมอยู่ 1-2 GB ก็ใช้อันนี้
# cp /usr/share/mysql/my-huge.cnf /etc/my.cnf
# service mysqld restart
4. เริ่ม login เข้าไป โดยใช้
http://IPaddress:7778 (https://IPaddress:7778)
user : admin
pass : admin

5. ทำการแก้ไข password เพื่อความปลอดภัย (รูป)
ที่เมนู Admin => Administration => Password

6. เพิ่ม DNS – Add a DNS Template (รูป)
ไปที่  Admin => Resource => DNS Template => Add DNS Template
DNS Template Name = ตั้งชื่ออะไรก็ได้ กันลืม เช่น MyDomain
Web Ipaddress = เลือกไอพีที่ต้องการ
Mail Ipaddress = เลือกไอพีที่ต้องการ
Primary DNS = ตั้งเป็น ns1.mydoamin.com
Secondary DNS = ตั้งเป็น ns2.mydoamin.com
กด Add เลย


7. สร้าง Package (รูป)
ไปที่  Admin => Administration => Resource Plan => Add Resource Plan
แล้วตั้งค่าไปตามที่กำหนด ส่วนมากจะเป็น unlimited

8. Add Customer (รูป)
ไปที่  Admin => Administration => Clients => Add Customer
กรอกข้อมูลตามจริง
9. MySQL Change Password เพื่อเอาไปใช้ในการติดตั้งโปรแกรมต่างๆต่อไป
ไปที่  Admin => Web&Mail&DB => MySQLPasswordReset


10. ปรับค่าฟังค์ชันการทำงานของตัว php กันด้วย
ไปที่  Admin => Web&Mail&DB => PHP Config
เปิดมาจะมี 2 tab คือ PHP Config กับ Advanced PHP Config โดยที่
10.1 PHP Config ให้เซตตามรูป โดยให้เลือก 4 ตัว คือ
Display Errors : ให้แสดงข้อความ ถ้ามี error เกิดขึ้น
Enable Xcache : ใช้ xcache ช่วยแบ่งเบาภาระ server
Enable Zend : สคริปต์ที่เข้ารหัสส่วนมากมักจะใช้ตัวนี้
Enable Ioncube : สคริปต์ที่เข้ารหัสส่วนมากมักจะใช้ตัวนี้

10.2 Advanced PHP Config ให้ลองปรับค่าเพิ่มขึ้นทีละ step ในส่วนของ (ไม่อธิบายละกัน มันยาวมาก)
Max Execution Time
Max Input Time
Memory Limit
Post Max Size
Upload File Max Size

11. ในกรณีที่เราลง wordpress MU ก็ให้ไปทำ wildcard DNS ด้วย
ในเมนู Domains เลือกโดเมนที่จะทำ wildcard แล้วให้ไปที่ Extra==> Server Alias ==> ใส่ * กด a


12. เสร็จทุกอย่างก็ให้ restart ตัว server ของเราทีนึง ก็จบเลย พร้อมใช้งาน

 
Design by Laikeng | Bloggerized by Storesu - sutoday | Court